การเรียนรู้เรื่องกรรม

การเรียนรู้เรื่องกรรม

           ความรู้เรื่องกรรม เป็นองค์ความรู้ที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา ต่างศาสนา  ต่างวัฒนธรรม ที่เข้ามาสนใจพระพุทธศาสนาแล้วa20140123aสมาทานพุทธศาสนาเป็นแนวทางดำเนินชีวิตตลอดไป  ส่วนใหญ่ได้ศึกษาและทำความเข้าใจและประทับใจคำสอนเรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาก่อน แล้วจึงขยายขอบข่ายการศึกษาไปสู่เรื่องอื่นๆ แล้วยิ่งมีศรัทธาเลื่อมใสมากจนกระทั่งเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุหรือภิกษุณีในพระพุทธศาสนาก็มีมากมาย

ความรู้เรื่องกรรมสำหรับพุทธบริษัทชาวไทย กล่าวได้ว่า ฝังอยู่ในสายเลือดและลมหายใจอย่างลึกล้ำจนกลายวิถีชีวิตและวิถีปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ ที่พากันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ช่วยเหลืองานสาธรณะอย่างไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ความเชื่อสั้นๆ ที่นำพาชีวิตไปสู่ความดีงามโดยไม่ยอมสนใจสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย เป็นคำสอนสั้นๆ แต่กินใจและยิ่งใหญ่อย่างลึกล้ำ คือ คำว่า ทำดี ได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว     เพราะมั่นใจว่าทำดีแล้วดีทันที จึงนิยมทำความดีกันมาก เพราะมั่นใจว่า ทำชั่วแล้วชั่วทันที จึงหลีกเลี่ยงความชั่วอย่างถึงที่สุด

เพื่อความก้าวหน้าในการศึกษาเรื่องกรรม จึงขอนำเอาข้อแนะนำเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การศึกษาเรื่องกรรมควรจะศึกษาเรื่องอะไรเพิ่มเติมอีกa20140123a-1จึงจะทำให้ความรู้เรื่องกรรมเชื่อมโยงกันเป็นอันดี และนำไปปฏิบัติอย่างได้ผล   การศึกษาเรื่องกรรม

ควรมีความรู้เหล่านี้เป็นพื้นฐานด้วย

  1. ความหมายของกรรม พระพุทธเจ้าตรัสให้ความหมายว่า  ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวซึ่งเจตนาว่า เป็นกรรม เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ทำกรรม ด้วยกาย วาจา และใจ
  2. แหล่งกำเนิดของกรรม  พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แหล่งกำเนิดแห่งกรรม  ทั้งหลาย คือ ผัสสะ ได้แก่ การทำa20140123a-2หน้าที่รับรู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ การตั้งสติเฝ้าระวังที่ผัสสะเป็นอย่างดี จะตัดกรรมตั้งแต่ต้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ หลวงพ่อพุทธทาสได้ให้ความสำคัญกับเรื่องผัสสะในการศึกษาเรื่องดับทุกข์มาก ถึงกับแต่งคติธรรมไว้ว่า ความทุกข์จะไม่โผล่ ถ้าไม่โง่เรื่องผัสสะ ความทุกข์เกิดไม่ได้ ถ้าเข้าใจเรื่องผัสสะ เพราะผัสสะคือ ที่มาแห่งกรรมคือการกระทำทั้งปวงนั้นเอง
  3. กรรมนำไปสู่ที่ต่างๆ พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในนรกมีอยู่  กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปตวิสัยมีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในมนุษย์โลกมีอยู่ กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเทวโลกมีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย คือ น้ำหนักของกรรมที่จะนำไปเสวยเวทนาในภพภูมิต่างๆไม่เท่ากัน หนักบ้าง เบาบ้าง เสวยสุขเวทนาบ้าง เสวยทุกขเวทนาบ้าง ล้วนเป็นไปตามพลังแห่งกรรมนำไป
  4. ระยะการให้ผลของกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่  3 อย่าง คือ วิบากในปัจจุบัน ทันทีทันใด วิบากในอุปปัชชะ คือ ให้ผลในเวลาต่อมา วิบากในอปรปริยายะ คือ ในเวลา ต่อจากนั้นเรื่อยๆ ไปตามลำดับ      ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกการให้ผลนี้ว่า วิบากแห่งกรรมa20140123a-3ทั้งหลาย ความหมายของวิบาก ก็คือ ผลของกรรมที่จะให้ผลเร็วหรือช้าไม่เท่ากัน เปรียบได้กับผลไม้ของพันธุ์ไม้แต่ละชนิดให้ผลไม่พร้อมกัน แต่ค่อยให้ผลต่อๆ กันตามเหตุตามปัจจัยตามกาลเวลาที่มาประจวบพร้อมกันเข้า     แต่ที่แน่ๆ คือ กรรมที่ทำไว้ไม่ว่าดีหรือชั่วให้ผลแน่ๆ แต่จะให้เมื่อไร ปุถุชนคนธรรมดาไม่ใช่พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้จะรู้ได้ยาก แต่จะมีลำดับแห่งการให้ผลอย่างถูกต้องเหมาะสมกับเหตุที่สร้างไว้ไม่ผิดเพี้ยน      คนมีอำนาจทางการเมืองอาจจะบิดพลิ้วกฎหมายมารับใช้ตนเองหรือพวกพ้องของตนได้      แต่กฎแห่งกรรมตรงดิ่งถูกต้องตามลำดับไม่มีใครบิดพลิ้วหรือลัดคิวได้เลย
  5. ความสิ้นไปแห่งกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความดับแห่งกรรมทั้งหลายย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ พระพุทธวจนะนี้ชี้ให้เห็นว่า กรรมเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น เมื่อระวังผัสสะไว้ให้ดี เมื่อกรรมเกิดไม่ได้ ก็หมายถึงดับไปโดยปริยายนั้นเอง พระพุทธเจ้าสอนให้ดับกรรมที่ต้นเหตุ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ระวังมิให้กรรมเกิด จะไม่ต้องดับกรรม หรือเมื่อไฟไม่ติดก็ไม่ต้องเปลืองแรงดับไฟ
  6. ทางสิ้นกรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์แปดนี่นั้นเอง คือ ทางอันเป็นที่ดับไป (ไม่เกิด) แห่งกรรม ได้แก่ สัมมาทิฎฐิ ความa20140123a-4เห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ สัมมาสติ ความระลึกชอบ สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ

สุดท้ายพระพุทธเจ้าทรงสรุปว่า ผู้ที่รู้และเข้าใจเรื่องกรรมอย่างชัดเจนในประเด็นเหล่านี้ ย่อมรู้ชัดว่า พรหมจรรย์ (การประพฤติธรรมเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์) เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม

การศึกษากรรมอย่างครบถ้วนตามพระพุทธดำรัสแล้ว จะช่วยให้ผู้ที่ได้รู้ได้ปฏิบัติแล้ว มีความมั่นใจในการปฏิบัติมากขึ้น จะช่วยให้ผู้ที่เริ่มศึกษาและปฏิบัติได้มีกำลังใจในการศึกษาและปฏิบัติยิ่งขึ้น เมื่อตั้งใจศึกษาเรื่องกรรมอย่างถูกต้อง และปฏิบัติอย่างถูกต้อง ผลของการปฏิบัติจะออกมาดี นำความสุขความเจริญมาสู่ตนเองและผู้อื่นทั้งปัจจุบันและอนาคตสืบไป

วันที่ 10 มกราคม 2557 เวลา 14.37 น.

วัดพุทธปัญญา เมืองโพโมน่า มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

ดร.พระมหาจรรยา  สุทธิญาโณ

เจ้าอาวาสวัดพุทธปัญญาและวัดลอยฟ้า

www.buddhapanya.org & www.skytemple.org